หัวใจภาษาไทย - หัวใจภาษาไทย นิยาย หัวใจภาษาไทย : Dek-D.com - Writer

    หัวใจภาษาไทย

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษาไทย หัวใจภาษาาไทยมีอะไรบ้าง พื้นฐานของความรู้ที่จะนำไปสู่การเรียนภาษาไทยที่ถูกต้อง

    ผู้เข้าชมรวม

    26,977

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    26.97K

    ความคิดเห็น


    18

    คนติดตาม


    10
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  15 ส.ค. 52 / 17:33 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

                                  หัวใจภาษาไทย

      ธรรมชาติของภาษา

       เป็นลักษณะทั่วไปหรือลักษณะสากลของภาษาต่างๆ ซึ่งมีประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น ดังนี้
      1. ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย
      2. ภาษาประกอบด้วยหน่วยเล็กเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้น
      3. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
      4. ภาษาต่างๆ มีลักษณะที่ต่างกันและเหมือนกัน

      ภาษาตามความหมายอย่างกว้าง คือ การแสดงออกเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์หรือระหว่างสัตว์

      ภาษาตามความหมายอย่างแคบ คือ ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้พูดเพื่อสื่อความหมาย

      ระดับภาษา
      1. ภาษาระดับพิธีการ   เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ
      2. ภาษาระดับทางการ  ใช้ในการบรรยาย  หรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุม
      3. ภาษาระดับกึ่งทางการ  ใช้ในการประชุมกลุ่มเล็ก
      4. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน 4-5 คนในสถานที่   ไม่ใช่ส่วนตัว
      5. ภาษาระดับกันเอง  ใช้ในวงจำกัดส่วนตัว

      คำราชาศัพท์

               การใช้คำราชาศัพท์ “ทรง”

      • ใช้นำหน้าคำนามสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น  ทรงม้า
      • ใช้นำหน้ากริยาสามัญ ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงขอบใจ  ทรงเป็นอาจารย์  ทรงมีเหตุผล
      • ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระราชดำริ  ใช้ในวงจำกัดส่วนตัว

               การใช้คำราชาศัพท์ “เสด็จ”
      • ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญทำนองเดียวกับคำ “ทรง”  เช่น เสด็จออก  เสด็จลง  เสด็จขึ้น
      • ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชดำเนิน
      • ถ้าส่งหรือรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระบรมวงศ์ชั้นสูง         ใช้ส่งเสด็จพระราชดำเนิน  รับเสด็จพระราชดำเนิน
      • ถ้าส่งหรือรับพระราชวงศ์ชั้นรองใช้ ส่งเสด็จ รับเสด็จ
      • ใช้เป็นคำแทนพระองค์  พระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรส พระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน  เช่น  เสด็จกรมขุน เสด็จพระองค์กลาง

                การใช้คำราชาศัพท์ “พระบรม”
      • ใช้แก่สิ่งสำคัญมากเป็นพิเศษสำหรับพระมหากษัตริย์ เช่น พระบรมราชานุเคราะห์  พระบรมเดชานุภาพ  ยกเว้น  พระบรมราชินูปถัมภ์ใช้สำหรับพระบรมราชินีนาถ

       ความงามกับภาษา

       คำไวพจน์ คือ คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน
      การเลือกคำโดยคำนึงถึงเสียง
      1. คำเลียนเสียงธรรมชาติ  เช่น ตึงๆ  ครืนครืน
      2. คำที่เล่นเสียงวรรณยุกต์ เช่น ว่างว้าง    จองจ่องจ้อง
      3. คำที่เล่นเสียงสัมผัส  เช่น บัวไม่ให้ช้ำ  น้ำไม่ให้ขุ่น
      4. คำที่เล่นเสียงหนักเบา เช่น บงเนื้อก็เนื้อเต้น  พิศเส้นสรีร์รัว
      การเล่นคำ คือ  การซ้ำคำพ้องรูปพ้องเสียง   แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน  เช่น ลางลิงชิงค่างขึ้นลางลิง  กาหลงลงกิ่งกาหลงลง
      การเรียบเรียงถ้อยคำ
      1. เรียงข้อความที่บรรจุสารสำคัญไว้ข้างท้ายสุด  เช่น   แม้ฉันจะจน  แต่ฉันก็ไม่เคยโกงใคร
      2. เรียงคำ  วลี  หรือประโยคที่มีความสำคัญเท่าๆ กันเคียงขนานกันไป เช่น รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
      3. เรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นไปตามลำดับดุจขึ้นบันไดจนถึงขั้นสุดท้ายซึ่งสำคัญที่สุด  เช่น ข้าพเจ้าได้เกิดมาแล้ว ข้าพเจ้ายังมีลมหายใจ และข้าพเจ้าจะสู้ต่อไป
      4. เรียงประโยคให้มีเนื้อหาเข้มข้นไปตามลำดับ  แต่คลายความเข้มข้นลงในช่วงหรือประโยคสุดท้ายอย่างฉับพลัน
      5. เรียงถ้อยคำให้เป็นประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์ เช่น  หากสยามพินาศลง ไทยอยู่  ได้ฤา
      ภาพพจน์  หมายถึง  ศิลปะในการใช้คำทำให้เกิดภาพเป็นการกล่าวอย่างไม่ตรงไปตรงมาต้องอาศัยการตีความ  มีลักษณะ ดังนี้
      1. ภาพพจน์อุปมา   เป็นการเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น  ขาวปูนเปรียบเพชรรัตน์
      2. ภาพพจน์อุปลักษณ์    เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เช่น
                    • ถนนเละเป็นสังขยา
                    • ชีวิตคือเกมกีฬาเกิดมาต้องสู้
                    • ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ
      3. ภาพพจน์บุคคลวัต  เป็นการสมมุติสิ่งต่างๆ ให้มีกิริยาอาการ
      4. ภาพพจน์อติพจน์  คือ การกล่าวเกินจริง
      5. ภาพพจน์อวพจน์  คือ  การกล่าวน้อยกว่าความจริง เช่น รอสักอึดใจ
      6. ภาพพจน์นามนัย คือ  การใช้ชื่อส่วนประกอบเด่นของสิ่งหนึ่งแทนสิ่งนั้นๆ ทั้งหมด เช่น  เพราะมัวห่วงเก้าอี้จึงไม่ยอมวางแผนงานใหม่ ๆ ที่เสี่ยงต่อความผิด
      7. ภาพพจน์สัญลักษณ์ คือ การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะภาวะบางประการร่วมกัน เช่น เมื่ออัวราเกิดมีขึ้นซึ่งสิ่งลี้ลับอันเป็นเหตุให้ผีเสื้อตัวผู้เสาะแสวงไปถึงผีเสื้อตัวเมียที่อยู่ไกลแสนไกล
      8. ภาพพจน์อุปมานิทัศน์  เป็นการใช้เรื่องราวหรือนิทานขนาดสั้นหรือขนาดยาวประกอบขยายหรือแนะโดยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจได้ อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง

      ภาษากับเหตุผล
           เหตุผล หมายถึง  ความคิดอันเป็นหลักทั่วไป  กฎเกณฑ์และข้อเท็จจริงที่ทำหน้าที่รองรับข้อสรุป
      โครงสร้างของการแสดงเหตุผล
      1. เหตุผลหรือข้อสนับสนุน
      2. ข้อสรุป (ใจความสำคัญ)
           วิธีการแสดงเหตุผลและการอนุมาน
      1.    นิรนัย   หมายถึง  การแสดงเหตุผลจากส่วนรวมไปกาส่วนย่อย
      2. อุปนัย หมายถึง  การแสดงเหตุผลจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม

      อนุมาน  หมายถึง  กระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่
      สาเหตุ  หมายถึง  สิ่งที่เป็นต้นกำเนิด
      ผลลัพธ์  หมายถึง  สิ่งที่เกิดตามมาจากเหตุ

      ระเบียบวิธีคิด
       ระเบียบวิธีคิดเชิงวิเคราะห์  คือ การพิจารณาแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง
       ระเบียบวิธีคิดเชิงสังเคราะห์ คือ การรวมส่วนต่างๆ ให้ประกอบกันเข้าด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสมจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้น
       ระเบียบวิธีคิดเชิงประเมินค่า  คือ  การใช้ดุลพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

      การโต้แย้ง
       การโต้แย้ง   เป็นการแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย  โดยแต่ละฝ่ายพยายามใช้เหตุผล รวมทั้งการ อ้างอิงถึงทรรศนะของผู้รู้เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตน
      โครงสร้างของการโต้แย้ง ประกอบด้วยเหตุผลและข้อสรุป
      กระบวนการโต้แย้งมี 4 ขั้นตอน
      1. การตั้งประเด็นการโต้แย้ง
      2. การนิยามคำสำคัญที่อยู่ในประเด็นการโต้แย้ง
      3. การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน
      4. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนและความผิดพลาดของทรรศนะของฝ่ายตรงข้าม

      ประเด็นการโต้แย้ง   หมายถึง  คำถามที่ก่อให้เกิดการโต้แย้ง

      การโน้มน้าวใจ
       การโน้มน้าวใจ  เป็นการใช้ความพยายามเปลี่ยนความเชื่อ  ทัศนคติ  ค่านิยม  โดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจผู้รับสารจนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจประสงค์

      หลักสำคัญที่สุดในการโน้มน้าวใจ
       คือ การทำให้มนุษย์ประจักษ์ชัดแก่ใจตนเองว่า ถ้าเชื่อหรือเห็นคุณค่าตามที่ผู้โน้มน้าวใจชักนำแล้ว  ก็จะได้รับผลที่ตอบสนองความต้องการขึ้นพื้นฐานของตน

      กลวิธีการโน้มน้าวใจ
      1. แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ
      2. แสดงให้ประจักษ์ถึงความหนักแน่นของเหตุผล
      3. แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งในด้านดีและด้านเสีย
      4. สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร
      5. เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า

      สารโน้มน้าวใจมี 3 ชนิด
      1. คำเชิญชวน
      2. โฆษณาสินค้าหรือโฆษณาบริการ
      3. โฆษณาชวนเชื่อ

      ประโยค
       ประโยคความเดียว    คือ ประโยคที่มุ่งกล่าวถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงสิ่งเดียว  และสิ่งนั้นแสดงกิริยาอาการหรืออยู่ในสภาพแต่เพียงอย่างเดียว    ตัวอย่าง   ฉันเขียนจดหมายถึงเพื่อน

       ประโยคความรวม  คือ ประโยคที่รวมเอาประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้ามาไว้ด้วยกันโดยมีสันธานเป็นตัวเชื่อม
      ตัวอย่าง ทั้งเขาและฉันต่างก็สบายใจ
       ประโยคความซ้อน  คือ ประโยคที่ประกอบด้วยมุขยประโยคซึ่งเป็นประโยคหลัก  และอนุประโยคที่เป็นประโยคย่อยทำหน้าที่ขยายหรือประกอบประโยคหลัก
      ตัวอย่าง  คนที่มีความประพฤติดีย่อมมีความเจริญในชีวิต

      คำ
      คำ  ประกอบด้วยเสียงและความหมาย

      1. คำมูล  มักมีความหมายเดียว เช่น ชงโค  กุเรา  แต่คำมูลบางคำก็มีหลายความหมาย เช่น กัน ฉัน ค้อน

      2. คำซ้ำ   เป็นการซ้ำเสียงคำมูลที่เป็นพยางค์เดียว  และเป็นคำคำเดียวเกิดเป็นคำใหม่ขึ้น
         • คำซ้ำเป็นคำสามานยนามมักมีความหมายเป็นพหูพจน์ เช่น น้องๆ
         • คำซ้ำบอกความหมายว่ามีลักษณะเช่นนั้นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ชิ้นๆ  ตู้ๆ
         • คำซ้ำที่เป็นกริยา มีความหมายว่าทำกริยาซ้ำๆ หรือต่อเนื่องกันหรือทำอย่างไม่ตั้งใจ เช่น ฟังๆ ดู
         • คำซ้ำบางคำบอกความหมายแบ่งแยกจำนวนออก เช่น  ส่งเป็นเรื่องๆ อาบน้ำเป็นคนๆ ไป

      3. คำประสม   เกิดจากการนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาประสบกันทำให้เกิดเป็นคำที่มีความหมายใหม่ขึ้นแต่ยังคงเค้าความหมายเดิม
         ก. คำประสมที่เป็นคำนาม  เช่น  ห้องรับแขก  ที่เขี่ยบุหรี่
         ข. คำประสมที่เป็นคำกริยา  เช่น ตัดใจ  ถูกคอ  หัวหมุน
         ค. คำประสมที่เป็นคำวิเศษณ์ เช่น  จับใจ  เต็มมือ

      4. คำซ้อน  มี  2  ประเภท  คือ  คำซ้อนเพื่อความหมายและคำซ้อนเพื่อเสียง

      ความหมายของคำซ้อน
         ก. มีความหมายแคบกว่าหรือเฉพาะเจาะจงกว่าคำเดิม เช่น ขัดถู
         ข. มีความหมายกว้างกว่าคำเดิม  เช่น ข้าวปลา
         ค. มีความหมายต่างกับคำเดิม เช่น บากบั่น
         ง. ความหมายตรงกับความหมายของคำเดิมแต่ละคำ เช่น       มีจนอย่างไรไม่ว่า   ยากง่ายอย่างไรต้องอ่านให้จบ

      คำซ้อนเพื่อเสียง  มักมีความหมายเพียงพยางค์ใดพยางค์หนึ่งหรือบางที 2 พยางค์ไม่มีความหมาย  แต่ละพยางค์มีเสียงใกล้เคียงกัน   ตัวอย่าง  รุ่งริ่ง   โยกเยก   ถากถาง  ทาบทาม   ทอดถอน  ยอกย้อน  บอบบาง   ตุปัดตุป่อง กระด้างกระเดื่อง

      5.    คำสมาส    เป็นวิธีสร้างคำในภาษาบาลีสันสกฤต
         • นำคำบาลีสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำมารวมกันเป็นคำเดียว เช่น พุทธโอวาท
         • คำหลักมักอยู่ข้างหลัง คำขยายมักอยู่ข้างหน้า เช่น  ราชธานี  ธรรมจริยา
         • ไม่ประวิสรรชนีย์  หรือมีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่อักษรสุดท้ายของคำนำหน้า เช่น ศิลปศาสตร์ ธุรกิจ วารดิถี
         • แปลจากหลังมาข้างหน้า เช่น  นิตยสาร  สังฆทาน คำสมาสมี 2 แบบ ดังนี้

      ก. สมาสที่ไม่มีสนธิ  เช่น  ประวัติการณ์  อุบัติเหตุ       อัคคีภัย ทิพยเนตร ขัตติยมานะ
      ข. สมาสมีการสนธิ  เช่น ทรัพยากร  ธันวาคม  สามัคคยาจารย์ วิทยาลัย จราจร  สโมสร  สัญจร  สังวร


      6.    คำเป็นคำตาย
       คำเป็น   คือ   คำที่ผันตามรูปวรรณยุกต์ มีเสียงอ่อน  มีลักษณะดังต่อไปนี้
         • ประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก.กา  เช่น ตาดีตีปลาตัวโตหน้าคูหา
         • มีตัวสะกดในแม่กง กน กม เกย  เกอว  เช่น  องค์ตนชมเชยสาว
         • ประสมกับสระอำ ไอ  ใอ  เอา  เช่น   จำ  ไว้  ใน  ใจ  เรา

       คำตาย  คือ คำที่ผันตามรูปวรรณยุกต์ได้ยาก  มีเสียงแข็ง  มีลักษณะดังต่อไปนี้
      • ประสมกับสระเสียงสั้นในแม่ ก.กา (ยกเว้นสระอำ ไอ ใอ เอา)  เช่น  จะ ติ  ปุ
      • มีตัวสะกดในแม่กก  กด  กบ  เช่น  กาก  กัด ศาสตร์  ธูป 

      7.    คำครุ  คำลหุ
       คำครุ  คือ   คำที่ออกเสียงหนัก  มีลักษณะ  ดังต่อไปนี้
      • มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ใดแม่หนึ่งใน 8 แม่  เช่น   เมฆ  จิต  อับ  กาง   กิน  ก้ม  เลย  แก้ว
      • ประสมกับสระเสียงยาวในมาตราแม่  ก.กา เช่น ตาปิ  ดู 
      • ประสมกับสระอำ  ไอ  ใอ  เอา  เช่น จำ ใจ  ไป  เกา
      คำลหุ   คือ  คำหรือพยางค์ที่ออกเสียงเบา  มีลักษณะ ดังนี้
      • ไม่มีเสียงตัวสะกด  เช่น  มะ
      • ประสมกับสระเสียงสั้น  เช่น  ปะ  จุ  เถอะ

      การเรียงคำตามระเบียบภาษาไทย
      1. ประธาน/กริยา
      2. ประธาน/ขยายประธาน/กริยา/ขยายกริยา
      3. ประธาน/กริยา/กรรม
      4. ประธาน/ขยายประธาน/กริยา/กรรม/ขยายกรรม/ขยายกริยา

      ความหมายของคำ
       ความหมายตามตัว คือ ความหมายเดิมของคำเมื่อปรากฏในบริบทต่างๆ
       ความหมายเชิงอุปมา  คือ ความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบ

      เสียงและอักษรไทย
      เสียงแบ่งออกเป็นเสียงพยัญชนะ  เสียงสระ  เสียงวรรณยุกต์
      ก. เสียงพยัญชนะ  เป็นเสียงที่ถูกลมปิดกั้นหรือถูกทำให้แคบ  จนลมต้องเสียงแทรกออกมา  เสียงพยัญชนะมี 21 เสียง ได้แก่  ก ค ง จ ช ซ ด ต ท น บ ป พ ฟ ม ย ร ล ว อ ฮ
      ข. เสียงสระ  ในภาษาไทยมี 24 เสียง
      • สระเดี่ยว   มี  18 เสียง ได้แก่  อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ  แอะ โอะ โอ เอาะ  ออ  เออะ  เออ
      • สระเลื่อน  (สระประสม)  มี 6 เสียง  ได้แก่  เอียะ  เอีย  เอือะ  เอือ  อัวะ  อัว

      ค. เสียงวรรณยุกต์  มี 5 เสียง (สามัญ  เอก  โท  ตรี  จัตวา)

      อักษรกลาง  ( ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ)
        รูปและเสียงวรรณยุกต์จะตรงกัน

      อักษรสูง ( ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห)
        รูปและเสียงวรรณยุกต์จะตรงกัน

      อักษรต่ำ อักษรคู่ ( ค ฆ ช ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ซ ฮ)
         อักษรเดี่ยว  ( ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล)

        รูปและเสียงวรรณยุกต์จะไม่ตรงกัน ผันด้วยรูปเอกจะเป็นเสียงโท ผันด้วยรูปโทจะเป็นเสียงตรีพยางค์  ประกอบด้วย พยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์

      1. เสียงพยัญชนะต้น คือ เสียงพยัญชนะที่อยู่หน้าเสียงสระในพยางค์ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว  เช่น  กาบ/ก/และเสียงพยัญชนะประสม เช่น กราบ/กร/

      2. เสียงพยัญชนะท้าย (เสียงพยัญชนะตัวสะกด)   คือ เสียงพยัญชนะที่อยู่หลังสระ
      อักษรควบและอักษรนำ

       อักษรควบกล้ำ คือ พยัญชนะที่ควบกับตัว ร ล ว ประสมกับสระเดียวกัน  อ่านออกเสียงควบกล้ำเป็นพยางค์เดียว  จัดแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

         1. อักษรควบแท้  คือ พยัญชนะที่ออกเสียงควบกล้ำทั้ง 2 ตัวพร้อมกันเป็นพยางค์เดียวในเสียงสระเดียวกัน เช่น เผลอไผล พร้อย  พรายแพรว  ขวักไขว่  คลุมเครือ ปรัก ปลัก ขวนขวาย
         2. อักษรควบไม่แท้ คือ พยัญชนะควบกล้ำที่อ่านออกเสียงตัวหน้าตัวเดียวหรือออกเสียงเปลี่ยนเป็นพยัญชนะตัวอื่น เช่น ทรง ทราบ ไซร์  เสด็จ  เศรษฐี  อินทรีย์   

      อักษรนำ  คือ พยัญชนะ 2 ตัวประสมสระเดียวกันมีหลักการออกเสียง ดังนี้
      1. อักษรสูงและอักษรกลางนำอักษรเดี่ยว  ออกเสียงเป็น 2 พยางค์ พยางค์แรกมีเสียงสระอะแฝงอยู่  และเสียงของอักษรเดี่ยวผันไปตามอักษรนำ กล่าวคือ
      • อักษรสูงอักษรเดี่ยว  เช่น แสรก อาขยาน สมุฎฐาน  ขรม
      • อักษรกลางนำอักษรเดี่ยว อ่านออกเสียงเพียงพยางค์เดียวให้ผันเสียงไปตามอักษรนำ  เช่น อย่า อยู่ อย่าง อยาก  แหวก  หงอน  หน่าย  หรูหรา  หวาม

      ข้อควรระวัง
      1. ถ้าหลักอักษรตัวหน้าประวิสรรชนีย์  ไม่เรียกว่าเป็นอักษรนำ เช่น  อะไหล่  ขะมุกขะมอม
      2. คำใดอ่านอย่างอักษรนำ โดยมิได้มีรูปเป็นอักษรนำ  จะนับว่าเป็นอักษรนำไม่ได้  เช่น ดิลก  เอิกเกริก
      3. อักษรสูงหรือกลางนำอักษรเดี่ยว  เสียงของอักษรเดี่ยวย่อมผันเป็นเสียงสูงหรือกลางไปตามอักษรตัวนำ เข้าหลักที่ว่า “อักษรตัวตามออกเสียงวรรณยุกต์ตามอักษรนำ”

      การอธิบาย บรรยาย  และพรรณนา
       การอธิบาย  หมายถึง  การทำให้บุคคลอื่นเข้าใจในความจริง ความสัมพันธ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆ วิธีการอธิบาย  มีหลายวิธีดังนี้
      1. อธิบายตามลำดับขั้น
      2. ใช้ตัวอย่าง
      3. เปรียบเทียบความเหมือนกันและความต่างกัน
      4. ชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน
      5. ให้นิยาม
      6. กล่าวซ้ำด้วยถ้อยคำที่แปลกออกไป

      การบรรยาย  คือ  การเล่าเรื่องการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน
      การพรรณนา  คือ การให้รายละเอียดของสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยมุ่งให้ผู้อ่านผู้ฟังนึกเห็นภาพอย่างแจ่มชัด

      วิธีสื่อสารในการประชุม
       การประชุมสัมมนา   เป็นการประชุมเฉพาะกลุ่มตามหัวข้อที่กำหนดเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิดและประสบการณ์
       องค์ประชุม คือ จำนวนสมาชิกที่กำหนดไว้ว่าจะต้องมีอย่างน้อยกี่คนจึงจะเปิดประชุมได้
       ที่ประชุม   คือ บุคคลที่เข้าประชุมทั้งหมด
       ระเบียบวาระ คือ หัวข้อในการประชุม
      วาระที่ 1  -  การรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน
      วาระที่ 2  - การพิจารณาเรื่องที่สืบเนื่อง
      อภิปราย เป็นการแสดงความคิดเห็นทั้งในเชิงสนับสนุนหรือคัดค้าน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×